วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555(เรียนชดเชย)

- ให้นักศึกษาวาดภาพอะไรก็ได้

ภาพดอกไม้ในกระถาง
นักศึกษาออกมานำเสนอภาพ

- หลังจากเล่าเรื่อง ให้นักศึกษาออกมานำเสนอภาพ ให้ออกมานำเสนอครั้งละ  8 คน โดยเล่าภาพต่อกันเป็นเรื่องราว


  1. ในป่าแห่งแห่งหนึ่ง มีสัตว์อาศัยอยู่มากมาย มีช้าง 2 เชือกเป็นเพื่อนกัน
  2. และในป่าแห่งนี้ก็มีดอกไม้แสนสวยอยู่มากมาย
  3. มิกกี้เมาส์มาเดินเล่นในป่า แล้วได้พบกับดอกไม้ดอกนี้จึงอยากเ็ก็บมาปลูก
  4. มิกกี้เมาส์ก็ได้นำดอกไม้มาปลูกใส่กระถางไว้ที่บ้าน
  5. และบ้านของมิกกี้เมาส์ก็มีรังผึ้ง เมื่อผึ้งเห็นดอกไม้ดอกใหม่ ก็ดีใจ จึงบินมาดูดน้ำหวาน
  6. ในขณะเดียวกันผึ้งยังบินไปไปดูดอกไม้ดอกอื่นอีกด้วย
  7. ดอกไม้ที่บ้านหลังนี้สวยงามมาก จนแมลงปอก็บินมาตอมดอกไม้ด้วยเช่นกัน
  8. ผึ้งอีกตัวเห็นแมลงปอ จึงได้ถามแมลงปอว่า "ชอบดอกไม้นี้หรอ" จากนั้นผึ้งและแมลงปอได้พูดคุยกันและเป็นเพื่อนกันในที่สุด

- กิจกรรมเล่านิทานต่อเนื่องกันลักษณะนี้ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้แสดงความคิดของตนเอง ช่วงแรกครูต้องปล่อยให้เด็กเล่าเรื่องโดยไม่ต้องปิดกั้นเด็ก หลังจากนั้นก็ควรสอดแทรกวิธีการ เด็กจะเกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิธีการเอง
- เมื่อยิ่งมีประสบการณ์มาก จะทำให้เกิดการเรียนรู้มาก เด็กจะนำประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่มาผสมผสานกันทำให้เกิดการปรับเป็นความรู้ใหม่

- ลักษณะของภาษา
  • เนื้อหาของภาษา ได้แก่ หัวข้อเนื้อเรื่องหรือความหมายของสารที่จะใช้สื่อกับผู้อื่น ประกอบด้วยชื่อของ คน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ ความสัมพันธ์
  • รูปแบบของภาษา เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ คำที่มีความหมาย และซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ  เสียงที่เปล่งออกมาเป็นหน่วย ลำดับคำ หรือประโยค
- นักศึกษาเขียนคำโดยใช้ภาพ

รองเท้า

- ทำท่าทางตามจำนวนพยางค์ของชื่อตนเอง
- ทำท่าทางตามจำนวนพยางค์ชื่อของเพื่อนและของตนเอง
- นักศึกษาร้องเพลง ก-ฮ
- นักศึกษาส่งตัวแทนออกไปอ่านออกเสียง โดยผสมสระอะไรก็ได้

- พยัญชนะมีทั้งหมด 44 ตัว มี 28 เสียง
  • อักษรกลาง มี 9 ตัว = ก/จ/ด/ต/บ/ป/อ/ฏ/ฎ (ไก่จิกเฎ็กตายเด็กฏายบนปากโอ่ง)
  • อักษรสูง มี 11 ตัว = ข/ฃ/ฉ/ฐ/ถ/ผ/ฝ/ส/ษ/ศ/ห (ฉันฝากขวดขี้ผึ้งใส่ถุงให้เศรษฐี)
  • อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว = ง/ญ/น/ย/ณ/ร/ว/ม/ฬ/ล (งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก)
  • อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว = ค/ฅ/ฆ/ช/ฌ/ซ/ฑ/ฒ/ท/ธ/พ/ภ/ฟ/ฮ
- ทำหนังสือหัดอ่าน (พยัญชนะ+สระ+วรรณยุกต์)


มอ+อือ = มือ

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555

- อาจารย์เปิดบล็อกนักศึกษา และนัดตรวจวันอาทิตย์
- การทำหนังสือภาพ จะต้องเลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ เช่น เธอชอบกินอะไร อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า
- การสร้างปริศนาคำทาย

  1. เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
  2. วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งของที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
  3. เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้น โดยเริ่มจากลักษณะที่ของหลายๆสิ่ง มีลักษณะเช่นกัน
  4. นำมาจัดเรียงลำดับ
  5. แต่งประโยค
*งานที่ได้รับมอบหมาย*
นักศึกษาจับกลุ่ม 4 คน ทำหนังสือภาพ และภาพปริศนาคำทาย

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุมต่างจังหวัด

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555

- อิทธิบาท 4

  • ฉันทะ  :  ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
  • วิริยะ    :  ความพากเพียรในสิ่งนั้น
  • จิตตะ   :  ความเอาใจใส่ ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
  • วิมังสา :  ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น 

- ดูหนังสือนิทานโดยใช้โปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องแม่ไก่แดง


- จากภาพ ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องแก้ไขในหนังสือเล่มนี้

  • สีตัวหนังสือ
  • ขนาดตัวหนังสือ
  • สีตัวละครไม่สอดคล้องกับเนื้อหา

    - ข้อดี ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

    • สามารถนำมาเปิดได้ทุกเวลา ถ้าไม่สะดวกเล่าในเวลานั้น

      - ข้อจำกัด ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

      • สื่อสารทางเดียว
      • ไม่ไ้ด้สังเกตพฤติกรรมเด็ก

        - ข้อดี ของการเล่านิทานสด

        • ได้สื่อสารกับเด็กโดยตรง
        • ไม่ปิดกั้นความคิดเด็ก
        • ได้แสดงความรู้สึก

          - ข้อจำกัด ของการเล่านิทานสด

          • เมื่อไม่สะดวกเล่า หรือไม่มีเวลา อาจไม่สามารถเล่าได้ในตอนนั้น

          - คำถามที่เหมาะสมที่สุดในการใช้ถามเด็กคือ ทำไม/เพราะเหตุใด/อย่างไร และต้องอยู่บนพื้นฐานความคิดอิสระ
          - สื่อที่มีมิติ มีการเคลื่อนไหวมาก เช่น หนัง การ์ตูน เกมส์ จะเร้าความสนใจเด็กมากกว่าหนังสือ

          อาจารย์สอนนักศึกษาร้องเพลง


          เพลงสวัสดี

          เพลงแปรงฟัน

          ภาษาต่างชาติ

          - นักศึกษาเขียนสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมดตั้งแต่ต้น

          บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2555


          - หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็ก ต้องคำนึงถึง

          • สิ่งที่เด็กสนใจ
          • พัฒนาการของเด็ก
          • การเชื่อมโยง
          - นักศึกษาดูภาพและตัวอักษรที่เด็กเขียน สิ่งนี้จะช่วยสะท้อนพัฒนาการ ความรู้สึก มารยาท การจัดความเหมาะสมของคำ สถานการณ์

          จากภาพ สะท้อนถึง

          • พัฒนาการของเด็ก
          • การจัดเรียงคำ
          • ความรู้สึกที่มีต่อพ่อ
          • มารยาททางสังคมของเด็ก สิ่งที่สะท้อน คือ คำว่า "ครับ"
          • ภาษาเป็นเครื่องมือที่สะท้อนความคิดเด็ก
          • ในฐานะที่เป็นครูปฐมวัย ควรหาวิธีปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสม ใช้คำพูดที่เหมาะสมกับเด็ก
          - บลูมและฮาเลย์(1993) ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการ

          1. ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส ใช้แทน สัตว์ สิ่งของ
          2. ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนทัศน์
          3. ภาษามีระบบ มีกฎเกณฑ์

          - ภาษา คือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
          - เด็กเรียนการฟังและการพูด ไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่ เมื่อเด็กอายุได้ 4-5 ปี

          - ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาษาของเด็ก

          • วัฒนธรรม
          • สังคม
          • สิ่งแวดล้อม(ห้องเรียน,นอกห้องเรียน,คน,สิ่งของ)
          - การจัดสภาพแวดล้อมทางภาษา

          • ติดคำต่างๆไว้ในบริเวณต่างๆ
          • การเห็นตัวหนังสือมากกว่าในหนังสือ
          - องค์ประกอบของภาษา มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้

          • เสียง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                           - การอ่าน = สัญลักษณ์การอ่าน
                           - ระบบเสียง = ตัวอักษร

          • ไวยากรณ์
                           - คำ
                           - ประโยค

          • ความหมาย
                          - คำศัพท์
                          - ประโยคข้อความ

          *งานที่ได้รับมอบหมาย*
          ให้นักศึกษาหาประสบการณ์ทางภาษาที่จัดให้กับเด็ก (คนละ 1 กิจกรรม)

          บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8 ประจำวันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2555 (เรียนชดเชย)

          - เพื่อนนำเสนอ วีดีโอ 1 กลุ่ม
          - อาจารย์เปิดวีดีโอเกี่ยวกับภาษา การเล่านิทาน เกี่ยวกับโทรทัศน์ครู

          • ภาษา + คณิตศาสตร์ = เครื่องมือในการเรียนรู้
          • เป็นครูอนุบาลต้องพูดให้ชัด
          • นิทาน คือ เรื่องราวที่ให้ความสนุกสนาน
          • การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับนิทาน คือ การทำท่าทางประกอบเรื่องราว
          • การแต่งเรื่องราวของนิทาน จะต้องส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ครบทั้ง 4 ด้าน
          • การสังเกตทำให้รู้ได้ว่าเด็กชอบหรือไม่ชอบ
          • ควรให้เด็กได้มีการสังเกต การออกแบบ
          • ให้เด็กได้มีโอกาสแสดงละคร ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
          • ดนตรีเกี่ยวข้องกับภาษามากมาย
          • การสอนภาษาแบบธรรมชาติ คือ การจัดกิจกรรมที่เด็กให้ความสนใจ
          • การดูนิทาน  คือ การอ่าน อ่านจากภาพ
          • การให้วรรณกรรมเป็นฐานของภาษา
          - ให้ลิงค์ Blogger

          *งานที่ได้รับมอบหมาย*
          สมัครสมาชิกโทรทัศน์ครู  แล้วลิงค์ และเขียนว่าได้อะไรบ้าง

          บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2555

          ไม่มีการเรียนการสอน

          บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2555

          ไม่มีการเรียนการสอน

          บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2555

          ไม่มีการเรียนการสอน

          บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม 2554

          - นักศึกษาเขียนภาษาท้องถิ่นให้มากที่สุด
          - ภาษาโคราช ยกตัวอย่าง เช่น

          • เจ้าของ   =   เธอ
          • ละเวิก      =   วุ่นวาย
          • ซะทัน      =   ในระหว่างนี้
          • สักเดี๋ยว   =   สักครู่
          • จ่น           =   ยุ่งมาก
          • กะได       =   บันได
          • จั๊ก           =   ไม่รู้
          • โพด        =   เกินไป
          • จั๊กก็ไอ    =   อะไรก็ไม่รู้
          • ยกบ้าน    =   ปลูกบ้าน สร้างบ้าน
          • มอ          =   เนินดิน
          • เดิ่น         =   ลานดิน
          • บก          =   ลดลง
          • งึด          =   ประหลาดใจ
          • กะเทิน    =   ไหนๆก็
          • คะนน     =   โอ่ง
          • จก          =   จอบ
          • จอบ       =   เสียม
          • คักโพด   =   เกินไป
          • คือเก่า    =   เหมือนเดิม
          • โหง่ย      =   เอนลง, ล้มลง
          • ไสหยืด   =   หวาดเสียวสุดๆ
          • อ่วย        =   เลี้ยวกลับ

          บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2554

          - นักศึกษานำเสนอวีดีโอ การสัมภาษณ์เด็ก (น้องทริกเกอร์  ชั้นอนุบาลปีที่ 2  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม)

          - อาจารย์จ๋า แนะนำวิธีการสัมภาษณ์เด็กปฐมวัยที่ถูกต้อง คือ  การใช้คำถามที่ชัดเจน ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการถามเด็ก ต้องรู้จักวางแผนก่อนถาม  ต้องใช้คำให้ถูกต้องและคำควบกล้ำก็ให้ถูกต้อง


          *งานที่ได้รับมอบหมาย*
          นักศึกษาจับกลุ่ม นำภาพให้เด็กดู ถามว่าเป็นภาพอะไร ในภาพมีอะไรบ้าง เมื่อเห็นภาพแล้วนึกถึงอะไร ให้น้องตั้งชื่อภาพ จากนั้นอัดวีดีโอ มานำเสนอหน้าชั้นเรียน

          บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2554

          - ประสบการณ์ คือ สิ่งที่ผ่านมาแล้ว และกำลังกระทำอยู่
          - สมองจะเกิดการเรียนรู้ได้ เนื่องจากการกระทำ เมื่อตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส กายสัมผัส
          - จากการทำงานของสมอง เมื่อนำมาจัดลำดับอายุ จะเห็นพัฒนาการทางสติปัญญา

          • แรกเกิด - 2  ขวบ  ใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้
          • 2 ขวบ   - 4  ขวบ  ใช้ภาษาได้มากขึ้น พูดเป็นคำๆ ไม่ใช้เหตุผล
          • 4 ขวบ   - 6  ขวบ  ใช้ประโยคยาวขึ้น เริ่มใช้เหตุผล

          - พัฒนาการ = การทำงานของสมอง > จัดเรียงตามลำดับอายุ > แสดงถึงการเปลี่ยนแปลง > แสดงออกมาเป็นพฤติกรรม > แสดงออกมาอย่างต่อเนื่อง

          - องค์ประกอบทางภาษา
          • ภาษาพูด
          • ภาษาเขียน
          • การฟัง
          • การอ่าน
          - วิธีการเรียนรู้
          • ลองผิดลองถูก
          • เลือกได้
          • อิสระ
          - การจัดประสบการณ์
          • การเขียนแผน
          • พัฒนาการของเด็ก
          • หลักการจัดประสบการณ์
          • การประเมิน
          • วิธีการจัด/รูปแบบ
          • สาระ (จากในหลักสูตร,จากเด็ก,จากท้องถิ่น)
          • การประเมิน(การสังเกต,แบบบันทึก,วีดีโอ,การสนทนา,ผลงานเด็ก)
          - การจัดประสบการณ์ทางภาษา ควรจัดในเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก ทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น กล้าที่จะเรียนรู้ ทำให้เด็กได้รับความรู้ และได้นำมาปรับเป็นความรู้ใหม่

          *งานที่ได้รับมอบหมาย*
          นักศึกษาจับคู่ ตั้งคำถามถามเด็ก ชื่อ  ชื่อเล่น  อายุ  โรงเรียน  จากนั้นอัดวีดีโอ มานำเสนอหน้าชั้นเรียน

          บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2554

          ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม